วิธีเริ่มต้นเทรด

อารมณ์ในการเทรด

ในบทเรียนแรก ๆ ของคอร์สนี้ เราได้พูดไปแล้วว่า ในขณะเทรด คุณอาจรู้สึกว่ามีหลายอารมณ์ถาโถมเข้ามา เช่น ความตื่นเต้น ความกลัว ความโลภ ความหวัง ความเสียดาย เป็นต้น แต่ละอารมณ์เหล่านี้ส่งผลต่อการตัดสินใจในการเทรดของคุณ ดังนั้น คุณจึงต้องเข้าใจและควบคุมมันให้ได้

อารมณ์ในเชิงลบ

1. ความกลัวคืออารมณ์ที่นักเทรดรู้สึกบ่อยครั้ง โดยเฉพาะในช่วงที่ตลาดมีความผันผวน ความกลัวที่จะขาดทุนอาจเร่งให้คุณออกจากการเทรดเร็วเกินไป หรือหลีกเลี่ยงที่จะไม่เทรดเลย ในทางกลับกันนั้น ความกลัวที่จะตกรถ (Fear of missing out หรือ FOMO) อาจบีบให้คุณด่วนตัดสินใจ เช่น คุณอาจราคาสินทรัพย์พุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว คุณจึงเปิดเทรดขึ้น โดยไม่ได้ทำการวิเคราะห์ใด ๆ และหลังจากนั้นก็ขาดทุน เพราะราคาขาขึ้นถึงจุดสูงสุดแล้ว และราคาเริ่มปรับตัวลง

article image

การรับรู้ถึงอารมณ์เหล่านี้และทำการตัดสินใจโดยอาศัยการวิเคราะห์อย่างมีเหตุผลเป็นสิ่งสำคัญ

2. ความโลภคล้ายกันกับความกลัว มันสามารถทำให้คุณตัดสินใจอย่างผลีผลามและเทรดแบบเสี่ยง ๆ ได้ เมื่อคำสั่งเทรด Forex เริ่มให้ผลกำไร ความโลภอาจล่อใจคุณให้เปิดคำสั่งเทรดนานขึ้นกว่าที่ได้วางแผนไว้ เพราะหวังว่าจะได้กำไรมากขึ้น ซึ่งบ่อยครั้งนำไปสู่การขาดทุน ทันทีที่มีการเปลี่ยนแปลงในตลาด ความโลภยังอาจทำให้คุณเทรดเกินตัว หรือเสี่ยงมากเกินไปในคำสั่งเทรดเดียว เช่น คุณอาจตัดสินใจเปิดคำสั่งเทรดเดียวด้วยยอดคงเหลือทั้งหมดในบัญชี เพื่อหวังทำกำไรก้อนโตโดยเร็วขึ้น ความโลภนั้นจัดการได้ด้วยการวางแผนการเทรด ยึดตามแผน และตั้งความคาดหวังในการทำกำไรที่เป็นไปได้จริง

3. ความหวังอาจเป็นอารมณ์ที่ยากต่อการรับมือในการเทรด เมื่อการเทรดขาดทุน ความหวังอาจทำให้คุณยึดมั่นกับมัน ในขณะที่คุณรอให้ตลาดกลับทิศทาง หากทำแบบนี้คุณอาจจะยิ่งขาดทุนหนักมากขึ้น ในกรณีที่ตลาดยังคงสวนทางกับคุณต่อเนื่อง สิ่งสำคัญคือการมีกลยุทธ์ในการออกจากการเทรดที่ชัดเจน และพร้อมที่จะยอมรับการขาดทุนใด ๆ ที่เกิดขึ้น

4. ความรู้สึกเสียดาย คุณอาจรู้สึกเสียดายกับโอกาสที่พลาดไปหรือการเทรดที่ไม่เป็นไปตามแผน ถึงแม้ว่าการรู้สึกเสียดายนั้นอาจเป็นเรื่องธรรมชาติ อย่าปล่อยให้มันมีผลต่อการตัดสินใจในการเทรดในอนาคตของคุณ ทางที่ดี ให้เรียนรู้จากประสบการณ์เหล่านี้เื่อพัฒนากลยุทธ์การเทรดของคุณ

อารมณ์เชิงบวก

การเทรดอาจกระตุ้นให้เกิดอารมณ์เชิงบวกได้เช่นกัน เช่น ความตื่นเต้น และความพอใจ อารมณ์เหล่านี้อาจช่วยเป็นแรงจูงใจและให้ผลดีต่อคุณ แต่มันก็สามารถทำให้คุณรู้สึกมั่นใจในตนเองมากเกินไปได้เช่นกัน เช่น หลังจากการเทรดเป็นไปตามแผนหลายครั้ง คุณอาจรู้สึกว่าตัวเองควบคุมตลาดได้ และลงทุนเงินจำนวนมากในการเทรดเดียว โดยขาดการวิเคราะห์และการวางแผนอย่างระมัดระวัง หากคำสั่งเทรดนั้นขาดทุน มันอาจจะกินเงินกำไรที่คุณเคยได้มาก่อนหน้านี้ทั้งหมด และทำให้คุณต้องกลับไปเริ่มนับหนึ่งใหม่ ดังนั้น การยึดตามแผนและมีวินัย แม้ในช่วงที่ประสบความสำเร็จ จึงเป็นสิ่งสำคัญ

การจัดการอารมณ์

อารมณ์คือส่วนสำคัญของการเทรด และการมีความรู้สึกก็เป็นเรื่องปกติ เพราะอย่างไรคุณก็คือมนุษย์คนหนึ่ง เป้าหมายไม่ใช่การกำจัดอารมณ์ของคุณ แต่เป็นการจัดการและควบคุมเพื่อลดผลกระทบต่อการตัดสินใจของคุณ

ขั้นตอนที่คุณสามารถปฏิบัติตามมีดังนี้:

1. ฝึกการใช้สติ สังเกตอารมณ์ของตนเองโดยไม่ตัดสิน และทำความเข้าใจว่าอารมณ์มีอิทธิพลต่อความคิดและพฤติกรรมของคุณอย่างไร ความตระหนักรู้นี้สามารถช่วยให้คุณตอบสนองอย่างมีวิจารณาญาณและมีสติมากขึ้น

2. พัฒนาแผนการเทรดและยึดตามแผน นี่เป็นวิธีง่าย ๆ แต่เป็นหนึ่งในวิธีการรักษาความมั่นคงและควบคุมอารมณ์ที่ได้ผลดีที่สุด โปรดย้อนดูบทเรียนก่อนหน้าเกี่ยวกับกลยุทธ์การเทรดเพื่อพัฒนากลยุทธ์ของคุณเอง

3. รักษาทัศนคติที่มีความสมดุล หากคุณมองว่าการเทรดเป็นกระบวนการ แทนที่จะเน้นผลลัพธ์จากคำสั่งเทรดเดียว คุณจะสามารถบรรเทาความผันผวนทางอารมณ์ได้ วิธีนี้จะช่วยให้การเทรดเป็นประสบการณ์ที่มั่นคงและเป็นไปในทางบวกมากขึ้น ไม่ว่าผลลัพธ์จะเป็นอย่างไร ทุกการเทรดคือโอกาสในการเรียนรู้และเติบโต

ถัดไป

ในบทเรียนถัดไป คุณจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิธีพัฒนาชุดความคิดในการเทรดที่จะช่วยให้คุณตัดสินใจเทรดได้อย่างดียิ่งขึ้น