วิธีเริ่มต้นเทรด

แนวโน้ม การปรับฐาน แนวรับ และแนวต้าน

ตอนนี้ คุณพอทราบเกี่ยวกับประเภทของกราฟและกรอบเวลาแล้ว ถึงเวลาศึกษาการเคลื่อนไหวของราคาสินทรัพย์ต่าง ๆ ทั้งนี้ สิ่งที่เกี่ยวกับการวิเคราะห์กราฟราคาอย่างการวิเคราะห์เชิงเทคนิค ใช้ได้กับสินทรัพย์ทุกชนิด ในบทเรียนนี้ เราจะโฟกัสกับการวิเคราะห์ข้อมูลดิบจากกราฟราคา หรือที่เรียกว่า พฤติกรรมราคา (price action)

แนวโน้มและการปรับฐาน

แนวโน้มแสดงถึงทิศทางในภาพรวมของการเคลื่อนไหวของราคาสินทรัพย์ แนวโน้มอาจขยับขึ้น (กระทิง) ขยับลง (หมี) หรือออกข้าง (ไซด์เวยส์)

- แนวโน้มขึ้นสังเกตได้จากราคาที่ทำระดับสูงสุดที่สูงขึ้น(higher high หรือ HH) และราคาต่ำสุดที่สูงขึ้น (higher low หรือ HL) มันดูเหมือนมีจุดสูงสุดและต่ำสุดติดต่อกัน โดยแต่ละจุดสูงสุดจะสูงกว่าจุดก่อนหน้า และจุดต่ำสุดจะสูงกว่าจุดก่อนหน้า

- ในทางกลับกัน แนวโน้มลงแสดงให้เห็นว่าราคาต่ำสุดค่อย ๆ ลดต่ำลง (lower low หรือ LL) และราคาสูงสุดก็ลดต่ำลง (lower high หรือ LH) โดยมีราคาสูงสุดและต่ำสุดที่ลดตัวลงอย่างต่อเนื่อง

- ตลาดออกข้างหรือไซด์เวยส์จะไม่แสดงแนวโน้มขึ้นหรือแนวโน้มลงที่ชัดเจน ราคาจะผันผวนอยู่ในกรอบแทน

ส่วนการปรับฐานนั้นเป็นการกลับตัวของราคาที่เกิดขึ้นชั่วคราวของแนวโน้มขาขึ้นหรือขาลงในภาพรวม โดยทั่วไปการปรับฐานจะมีขนาดเล็กกว่าแนวโน้มโดยรวม และไม่บ่งชี้ถึงการเปลี่ยนแปลงของแนวโน้มโดยรวม

article image

คำแนะนำที่ 1: มือใหม่ควรปฏิบัติตามกฎ "แนวโน้มคือเพื่อนของคุณ" นี่หมายความว่า ให้เปิดคำสั่งเทรด ขึ้น ในช่วงแนวโน้มขึ้น และคำสั่งเทรด ลง ในช่วงแนวโน้มลง เพราะมีความเชื่อว่า หากมีแนวโน้มเกิดขึ้น แนวโน้มมีโอกาสจะไปต่อมากกว่ากลับตัว ดังนั้น การเทรดในทิศทางเดียวกันกับแนวโน้มมักจะให้ผลตอบแทนที่สูงกว่า และมีความเสี่ยงต่ำกว่าการเทรดสวนแนวโน้มหรือเทรดในช่วงราคาย่อตัว

วิธีสังเกตแนวโน้ม

การวิเคราะห์ภาพเป็นเรื่องง่าย แต่เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาในการสังเกตแนวโน้มราคา ให้มองหา HH และ HL ในแนวโน้มขึ้น และ LH และ LL ในแนวโน้มลง

ใช้เส้นเทรนด์เพื่อวาดแนวโน้มลงบนกราฟ คลิกที่ไอคอนการวิเคราะห์เชิงเทคนิคในหน้าต่างกราฟ เลือกเครื่องมือวาด และเลือก เส้นเทรนด์ วาดเส้นที่เชื่อมระหว่างราคาต่ำสุดในแนวโน้มขึ้น หรือราคาสูงสุดในแนวโน้มลง วิธีนี้สามารถช่วยให้คุณเห็นภาพแนวโน้มและวางแผนการเทรดได้สะดวกขึ้น เมื่อคุณตีเส้นนี้และกะระยะไปยังอนาคต ราคามีแนวโน้มที่จะตีกลับจากเส้นดังกล่าวในครั้งถัดไปที่ราคาขยับถึงเส้น

คุณสามารถใช้อินดิเคเตอร์เชิงเทคนิคเพื่อสังเกตแนวโน้มได้เช่นกัน เช่น Moving Average (MA) สามารถเฉลี่ยข้อมูลราคาให้เรียบขึ้น ราคาที่อยู่เหนือเส้น MA จะแสดงถึงแนวโน้มขึ้น ในขณะที่ราคาที่อยู่ด้านล่าง MA จะแสดงถึงแนวโน้มลง

โดยรวมแล้ว ตัวเลือกที่ดีที่สุดคือการตีเส้นเทรนด์ และใช้อินดิเคเตอร์เพื่อยืนยันทิศทางของแนวโน้ม

article image

ในแนวโน้มขึ้น จะตีเส้นเทรนด์ผ่านราคาต่ำสุดบนกราฟราคา ในหลายครั้ง อาจใช้วิธีลากเส้นคู่ขนานที่เชื่อมระหว่างราคาสูงสุดด้วย จึงเกิดเป็นกรอบราคา แต่ในแนวโน้มขึ้น เส้นที่ตีผ่านราคาต่ำสุดมีความสำคัญมากกว่า เพราะเมื่อราคาทะลุลงเส้นเทรนด์ จะแปลว่าแนวโน้มมีการเปลี่ยนแปลง

คำแนะนำที่ 2: เมื่อดูกราฟกรอบเวลา 1d คุณจะเห็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับราคาสินทรัย์ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา หากคุณเปลี่ยนเป็น 1h คุณจะเห็นพฤติกรรมราคาในช่วงหลายวันที่ผ่านมาอย่างละเอียดมากขึ้น โดยทั่วไป แนวโน้มในกรอบเวลาเหล่านี้จะแตกต่างกันไป ดังนั้น อย่างที่เราได้อธิบายไปในบทเรียนครั้งก่อนหน้าเรื่องกรอบเวลา คุณควรเช็กดูกรอบเวลาที่ใหญ่กว่าเสมอเพื่อดูว่าแนวโน้มในระยะยาวเป็นอย่างไร

แนวรับและแนวต้าน

คือระดับที่สำคัญบนกราฟราคา ระดับเหล่านี้ทำหน้าที่เป็นสิ่งกีดขวางของราคา เมื่อราคาขยับถึงระดับเหล่านี้ มีโอกาสที่จะเกิดการกลับตัวของทิศทาง

- แนวรับคือพื้นที่ที่อยู่ต่ำกว่าราคาปัจจุบัน หากแรงซื้ออาจมากกว่าแรงขาย ส่งผลให้ราคาดีดกลับขึ้นมา แนวรับทำหน้าที่เป็นพื้นด้านล่างที่ราคาไม่น่าจะหลุดลงต่ำกว่านั้นได้

- กลับกันนั้น แนวต้านคือพื้นที่ด้านบนราคาปัจจุบัน ซึ่งแรงขายอาจมากกว่าแรงซื้อ จึงกดให้ราคาลดลง แนวต้านทำหน้าที่เสมือนเพดานที่ราคาไม่น่าจะฝ่าทะลุขึ้นไปได้

article image

การหาแนวรับและแนวต้าน

ระดับแนวรับและแนวต้านมีหลายประเภท ดังนี้

1. สวิงไฮ และสวิงโลว์ (swing highs และ swing lows)

สวิงไฮคือแท่งเทียนที่มีราคาสูงสุดที่ลดตัวลงหรือ LH เกิดขึ้นอย่างน้อยสองครั้งทั้งด้านซ้ายและด้านขวา และสวิงโลว์ คือ แท่งเทียนที่มีราคาต่ำสุดที่ยกสูงขึ้นหรือ HL อย่างน้อยสองครั้งทั้งสองด้าน

article image

2. ระดับจิตวิทยา

ราคาที่ลงท้ายด้วย "00" เช่น 1.4000 หรือ 105.00 มักทำหน้าที่เป็นระดับแนวรับและแนวต้านที่สำคัญ เนื่องจากผลทางจิตวิทยาของเลขตัวกลมที่มีต่อนักเทรด

3. Moving Averages

MAs โดยเฉพาะค่าเฉลี่ยระยะยาวกว่าสามารถทำหน้าที่เป็นระดับแนวรับและแนวต้านที่แข็งแกร่งได้

4. เส้นเทรนด์

เส้นเหล่านี้สามารถเป็นระดับแนวรับและแนวต้าน ซึ่งช่วยในการหาพื้นที่ที่น่าสนใจในตลาดที่กำลังมีแนวโน้มเกิดขึ้น

article image

เมื่อคุณได้บริเวณแนวรับและแนวต้านแล้ว คุณสามารถวาดเส้นแนวนอนลงบนกราฟ การตีเส้นเช่นนี้จะช่วยให้คุณทราบว่าควรเทรดตอนไหน เมื่อราคาขยับมาถึงระดับเหล่านี้ในอนาคต

คำแนะนำที่ 3: โดยทั่วไป ยิ่งมีการทดสอบระดับแนวรับหรือแนวต้านบ่อยครั้งมากเท่าไหร่ (ราคาขยับถึง แต่ไม่หลุด หรือ "ทะลุ") ระดับนั้นจะยิ่งมีความสำคัญ สิ่งนี้อาจทำให้ระดับดังกล่าวเป็นแนวขวางกั้นที่น่าจะตอบสนองต่อราคาในอนาคตมากขึ้น

คำแนะนำที่ 4: เมื่อราคาฝ่าระดับแนวรับหรือแนวต้านไปได้ บ่อยครั้งบทบาทของระดับเหล่านี้จะสลับกัน เมื่อราคาทะลุ แนวต้านก็อาจกลายเป็นแนวรับ และในทางกลับกันก็เช่นกัน

คุณสามารถใช้แนวรับและแนวต้านเพื่อหาระดับในการเข้าและออกการเทรดของคุณ โดยเฉพาะหากคุณใช้ประกอบกับการวิเคราะห์แนวโน้ม หากราคากลับตัวขึ้นจากแนวรับ และปรากฏแนวโน้มขาขึ้น นี่จะเป็นโอกาสที่ดีให้เปิดคำสั่งเทรด ขึ้น ในทางกลับกัน หากราคาขยับลงจากแนวต้าน และปรากฏแนวโน้มขาลง คุณอาจเลือกเปิดคำสั่งเทรด ลง

ถัดไป

ในบทเรียนถัดไป คุณจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับอินดิเคเตอร์ทางเทคนิคที่จะช่วยให้คุณเข้าใจสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นบนกราฟและคาดการณ์การเคลื่อนไหวของราคาในอนาคตได้ดียิ่งขึ้น